top of page

มารู้จัก ศีลข้อที่ 3 ตามความเป็นจริงกัน (Sila5/11)

  • igqsan
  • Apr 15, 2022
  • 4 min read

Updated: Jul 17, 2022

มาถึงศีล ข้อ3 กาเมสุมิจฉาจารา ศีลข้อที่มีคนเข้าใจผิดกันเยอะมากว่า พระพุทธเจ้าไม่ให้มี ผัวน้อย เมียน้อย การมีผัวน้อย เมียน้อยนั้นคือบาป?แล้วทำไมถึงบาป?ทั้งที่ "ลัทธิผัวเดียวเมียเดียวเป็นสิ่งที่เรารับมาจากโลกตะวันตก" แล้วไหงมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าได้ การเอาสิ่งสมมติ มาเชื่อมกับ สัจธรรม ได้นี่ เรียกได้ว่า คะแนนวิชาเชื่อมโยง เต็ม 100 เลยทีเดียว งั้นเราลองมาจำแนกแยกแยะพิสูจน์ให้เห็นแจ้งกันครับ


ปุจฉา: จุดประสงค์ของศีลข้อ 3 คือ


วิสัชนา: จุดประสงค์ของศีลข้อที่ 3 คือ ให้พึงระวังการสร้างบ่วงกับ "คน" ที่มีคนผูกบ่วงไว้ โดยเจตนา


หลักการคล้าย ๆ กันกับ เรื่องของการผูกบ่วงด้วยวัตถุสิ่งของ ในศีลข้อ 2 ครับ แต่แค่เปลี่ยน วัตถุ สถานที่เป็น คนเท่านั้นครับ


ขออธิบายให้เห็นภาพ โดยผมขอใช้ ผู้หญิงเป็นตัวอย่างอธิบายนะครับ


ผู้หญิงเนี่ย ตอนยังเด็ก ๆ อยู่ ก็มีพ่อแม่เป็นคนดูแลใช่ไหมครับ ดังนั้น คนที่ผูกบ่วงกับเด็กคนนี้ คือ พ่อ กับ แม่ หรือ ผู้ปกครองอื่นของเด็กผู้หญิงครับ ดังนั้น ถ้าผู้ชายจะมีผูกบ่วง หรือ ทำอะไร ๆ ด้วยกันกับเด็กผู้หญิง ก็พึงต้องระวัง บ่วงที่ผูกอยู่ ซึ่งก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครองเพราะบ่วงนั้นแล ที่จะเป็นคนมาเล่นงานผู้ชายครับ


ทีนี้ถ้าผู้หญิงโตแล้ว อยู่นอกเหนือการปกครองของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่น ย้ายไปอยู่เองคนเดียวแล้ว บ่วงตรงนี้ถือว่า เบาลงไปครับ ใช้คำว่า เบาเพราะยังไม่ขาดสักทีเดียว หากเวลามีปัญหา ก็พร้อมจะมาเล่นงานอยู่ แต่ถ้าเกิดตายหมดแล้ว ญาติพี่น้องก็ไม่มี อันนี้ก็ถือว่า บ่วงขาดครับ


และหากผู้หญิงคนนั้น มีสามีแล้ว บ่วงที่เกิดขึ้น คือ สามีครับ หากเราไปเจ๊าะแจ๊ะอะไร เราก็จะโดนคนที่เป็นสามีเล่นงานเอา หรือ ผูกบ่วงเข้ากับเราได้ครับ


เช่นนี้แล้ว เวลาจะสร้างบ่วงกับใคร จึงให้พิจารณา และพึงระวังการสร้างบ่วงกับคนที่คนอื่นมาผูกบ่วงเอาไว้ครับ


ปุจฉา: ด้วยศีลข้อ3 แปลว่า พระพุทธเจ้าห้ามมี ผัวน้อย เมียน้อย หรือ ต้องมี "ผัวเดียว เมียเดียว" จริงหรือ?


วิสัชนา: หลายคนชอบบอกว่า เพราะศีลข้อนี้บอกไว้ ว่า การไปแย่งสามีภรรยาคนอื่นนั้น คือ การผิดศีลข้อนี้ เพราะงั้นการไปเป็นเมียน้อยเขา หรือ หนึ่งผัว หลายเมีย หรือ 1 เมีย หลายผัว คือ ผิดศีลข้อนี้ เพราะพระพุทธเจ้าห้ามไว้


การตีความเช่นนี้ ตามหลักของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติแล้ว เรียกได้ว่า เป็นการตีความที่เข้าข้างความชอบไม่ชอบของตัวเองครับ เป็นการตีความด้วยอัตตาว่า สิ่งนั้นเป็นสามีของเรา เป็นภรรยาของเรา ไม่ใช่การตีความตามความเป็นจริงตามธรรมชาติ เพราะ


พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านไม่สรรเสริญการมีครอบครัว การมีสามี ภรรยา และ บุตร เพราะทั้งสามี ภรรยา และ บุตร ต่างก็เป็นบ่วงทั้งสิ้น" (พ่อแม่ยังเป็นบ่วงเลย อย่าว่าแต่ สามี ภรรยาและบุตร)

ดังนั้น การมาบอกว่า พระองค์ท่านไม่สนับสนุนการมีเมียน้อย ผัวน้อย จึงเป็นคำพูดที่ผิด เพราะพระองค์ท่านไม่สนับสนุนตั้งแต่จะมีแล้วด้วยซ้ำ


แต่ด้วยความที่ธรรมชาติของสัตว์นั้น ต้องบริโภคกามราคะโดยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเพื่อการสืบพันธุ์ หรือ ปลดเปลื้องอารมณ์ ก็แล้วแต่ และไม่ใช่สัตว์โลกทุกชนิดหรือคนทุกคนจะบรรลุธรรมได้ พระองค์ท่านจึงแค่แนะแนวทาง ที่จะ "ลดการเบียดเบียนและสร้างจิตอกุศลระหว่างกันให้น้อยที่สุด" เท่านั้นเองครับ


อนึ่ง ขอให้ทุกท่านนึกถึงตามหลักความเป็นจริง คนเรานั้น เกิดตาย มีร้อยกี่พันชาติ มันจะเป็นไปได้หรือที่เราจะผูกบ่วง คือ เป็นคู่แต่งงานกับแค่ " จิตใจดวงเดียว" เสมอไป เราอาจจะไปผูกบ่วงไว้กับกี่ร้อยกี่พันกี่หมื่นกี่ล้านจิตใจก็ได้ แล้วทำไม มันจะไม่มีโอกาสที่ คนที่มีบ่วงร่วมกันกับเรามาอยู่ในภพชาติเดียวกันหลายคน และใครเป็นคนกำหนดว่า เขาจะต้องมาทีล่ะคน คนนี้จบแล้วค่อยเริ่มกับคนนี้ มันจะมาพร้อมกันไม่ได้หรือ


ทุกอย่าง ล้วนเป็นอัตตา ล้วนเป็นสิ่งที่เราคิดเอง เออเอง กำหนดขึ้นมาเป็นประเพณีเองทั้งนั้น ไม่ใช่ความจริงตามธรรมชาติเลย


กรรม หรือ บ่วงของแต่ล่ะคน เป็นเรื่อง ปัจจัตตัง คือเป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ใช่เรื่องที่เราควรยุ่ง ควรวิพากษ์วิจารณ์ ควรสนใจ เพราะนั่นคือ การสร้างบ่วง ไม่เป็นไปเพื่อการละ


ปุจฉา: ทำไมการมี "สามี ภรรยา หรือ บุตร" จึงเป็นบ่วง?


วิสัชนา: มีใครเคยตั้งคำถามนี้ไหมครับ เราได้ยินเสมอว่า การมีบุตร คือ บ่วง จากคำอุทานของพระพุทธเจ้า ตอนลูกเกิดว่า "ราหุลัง ชาตัง" หรือ "บ่วงเกิดขึ้นแล้ว" แต่ทำไมมันถึงเป็นบ่วงล่ะ?


ตามธรรมชาติ คนเราเกิดมานั้น เรามีสิ่งที่เราเรียกว่า "ฐานะ" ติดตัวมาด้วยเสมอ เช่น


เมื่อเราเกิดมา เรามี "ฐานะ" เป็นลูกของพ่อแม่ และ พ่อแม่ ก็มี "ฐานะ" เป็นพ่อแม่เรา


นอกเหนือจากพ่อแม่เรา ก็ยังมี "ฐานะ" ของ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา รวมไปถึง พี่ น้อง ทั้งหลาย


เมื่อเราโตขึ้น เราไปโรงเรียน เราก็จะมี "ฐานะ" ของ ครูบาอาจารย์ ฐานะความเป็นศิษย์ ฐานะความเป็นเพื่อน


เมื่อเราออกไปทำงาน เราก็จะมีฐานะของ "เจ้านาย" ฐานะของ "ลูกน้อง"


และในทุกความมี "ฐานะ" เรามีบ่วงที่สร้างต่อกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็น บ่วงทิฎฐิ บ่วงกุศล หรือ อกุศล ยิ่งเยอะมากเท่าไร โอกาสที่จะสร้างบ่วงก็ยิ่งเยอะมากตามเท่านั้น


นี่แค่ตัวเราคนเดียวครับ และ หากเรามี ภรรยา บ่วงก้อนใหญ่ ๆ ของภรรยาทั้งหมด ก็จะมาผูกติดกับเราโดยอัตโนมัติเช่นกันเพราะต่างคนต่างก็มีที่มาของตัวเอง



และเมื่อเราให้กำเนิดลูก ลูกก็จะไปสร้างบ่วงก้อนใหญ่ ๆ ของเขาเองอีกในอนาคต แล้วก็จะมาผูกติดกับเรา กลายเป็นบ่วงก้อนใหญ่ขึ้นไปอีก ซึ่ง บ่วง พ่อแม่ ภรรยา สามี บุตร ถือเป็น บ่วงชั้นในที่มีความใกล้ชิดกับตัวเรา เป็นบ่วงที่ละทิ้งยาก กล่าวคือ เราจะมี "ห่วงใย" ในบ่วงเหล่านี้แน่นเป็นพิเศษ เลยทำให้ เวลา ใครมาทำอะไร หรือ ปฏิสัมพันธ์กับ บ่วงชั้นในของเรา เรามักจะได้รับผลกระทบ จากบ่วงนั้น มาโดยตรงไปด้วยเสมอ



เช่น ใครมาทำอันตราย พ่อแม่ สามี ภรรยา ลูกเรา ให้ได้รับความไม่สบายใจ ทุกข์ใจ เราก็มักจะทุกข์ หรือ เดือดเนื้อร้อนใจตามไปด้วย หรือแม้แต่ บ่วงเหล่านั้นไม่สบายตามธรรมชาติ เช่น พ่อแม่ ไม่สบาย สามี ภรรยา ไม่สบาย ลูกไม่สบาย เราก็จะเกิด "ความทุกข์" เดือดเนื้อร้อนใจไปด้วย


ดังนี้แล้ว พ่อแม่ สามี ภรรยา บุตร จึงเป็น "บ่วง" จึงเป็นเหตุแห่งทุกข์ สิ่งนี้เรียกว่า "โทษของการมีพ่อแม่ สามี ภรรยา และ บุตร" แต่ด้วยความที่พ่อแม่ คือ บ่วงที่เป็นอนันตริยกรรม เป็นบ่วงที่เราไม่สามารถละได้ ไม่เหมือนสามี ภรรยา และ บุตร ที่เรายังพอไม่มีได้ ดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ใน "ฐานะ" ลูกที่ต้องทำ เพื่อไม่ให้มี "บ่วงอกุศล" เกิดขึ้นกับท่าน โดยไม่จำกัดว่า "ท่านจะต้องเลี้ยงดูเราอย่างดี หรือเราจะได้รับความรักจากท่านหรือไม่" เรามีหน้าที่ต้องตอบแทนบุญคุณที่ท่านให้ร่างกายเรามา เป็นบ่วงอัตโนมัติ ตั้งแต่เราเกิดมาในภพนี้ จนกว่า ภพชาติของท่านนั้นจะจบลง


ถ้าไม่อยากมีบ่วงนี้อีก ทางเดียวคือ "อย่าเกิดอีก"

ในความเป็น "โลกียะ" เราวัดว่า ใครรู้จักคนมากกว่า ยิ่งมีโอกาสมากกว่า ทั้งในเรื่องการงานธุรกิจต่าง ๆ เพราะยิ่งมี Connection มากเท่าไร ชีวิตยิ่งง่ายขึ้น มีคนเห็นคุณค่า เห็นความสำคัญของเรามากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องแลกมาด้วย การต้องใช้เวลาในการปฏิสัมพันธ์ รักษาความสัมพันธ์ ใช้เวลาไปกับโลกจนไม่ได้มีเวลามาย้อนดูตัวเอง


แต่ในทาง "โลกุตระ" แล้ว "คน เป็นเหตุแห่ง ความวุ่นวาย เป็นเหตุแห่งการเกิดบ่วง" พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้สนับสนุน ให้เรามีปฏิสัมพันธ์ให้มาก กลับกัน หากเราปรารถนาที่จะบรรลุธรรม ท่านให้เราถือสันโดษ ปลีกวิเวก ไม่สุงสิง ยิ่งในการปฏิบัติธรรมนั้น การไม่พูดไม่คุยกับใครเลย ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ เพื่อป้องกันการส่งจิตออกนอก การไหลไปตามโลก ในขณะที่ใจเรายังไม่นิ่งพอ และเมื่อไรที่ใจเรานิ่งพอแล้วออกมาอยู่บนโลก ท่านให้เจริญเมตตา เพื่อเมตตาคนที่ยังไม่รู้ เพราะตราบใดที่ท่านยังไม่เป็นพระอรหันต์ เมื่อท่านละสังโยชน์ 3 ได้แล้ว สังโยชน์ตัวท้าย ๆ จะทวีความรุนแรงขึ้นโดยธรรมชาติ ท่านจะถือมั่นในตัวเองมากขึ้น ดูถูกคนอื่นที่ยังไม่บรรลุธรรมมากขึ้น เหตุนี้ พระองค์ท่านจึงให้เจริญเมตตา เพื่ออยู่ในโลก จนกว่าจะบรรลุอรหันต์


เช่นนี้แล้ว ในเมื่อเรายังคงต้องอยู่ในโลก เราจึงควรดุล ระหว่าง "โลกียะ" และ "โลกุตระ" ดุลให้พอเหมาะกับการใช้งาน ไม่ให้มากไม่ให้น้อยจนเกินไป โดยมีสติรับรู้ว่า เราทำเพื่ออะไร ไม่ใช่หลงโลกจนไม่มีสติ และ พึงรู้ว่า สิ่งสำคัญในชีวิตเราจริง ๆ คืออะไร เมื่อไรที่เราพอ เราเบื่อหน่าย เราอิ่มในโลก เราตระหนักว่าโลกนี้เป็นของปลอมแล้ว เมื่อนั้นเราก็ควรทิ้งโลกียะเสีย ซึ่งนั่นก็ขึ้นกับ ปัญญาในการพิจารณาธรรมของแต่ล่ะคนครับ


เช่นนี้แล้ว จึงสรุปได้ว่า

"การไม่มี สามี ภรรยา และ บุตร คือ ลาภอันประเสริฐ"

แต่หากเราเลือกที่จะมีคู่ มีลูก ถ้าไม่อยากให้ชีวิตวุ่นวายมากก็ควรมีคู่ครองคนเดียว แต่ถ้าเกิดอยากมีสามีภรรยาหลายคน เราก็ต้องมีวิธีการจัดการบ่วงให้เกิดน้อยที่สุด


ปุจฉา: หากอยากมีสามี หรือ ภรรยาหลายคนต้องทำอย่างไร ให้เกิดบ่วงน้อยที่สุด?


วิสัชนา: อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่ต้นว่า "พระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมการมี สามี ภรรยา หรือ บุตร" แต่ถ้าหากเราเลือกที่จะมี ไม่ว่าจะกี่คน นั่นคือ เราเลือกที่จะสร้างบ่วงแล้ว และเราจะต้องรับ "โทษ" ของการมีภรรยาและบุตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใจความสำคัญ จึงไปอยู่ที่ว่า จะทำอย่างไรให้สร้างบ่วงน้อยที่สุด


ดังนั้น


หากเราต้องการจะมี สามี หรือ ภรรยาหลายคน สิ่งต่อไปนี้ คือ สิ่งที่เรา "ต้อง" ทำให้ได้


1.ภรรยา หรือ สามี ของเราทุกคน นอกจากจะต้องรักตัวเราแล้ว ยังต้องรักกันเองให้ได้ด้วย


กล่าวคือ เนื้อแท้ของศีลข้อ 3 คือ การเกิดบ่วง อกุศลในจิตใจ สมมติ เวลาเรานอกใจภรรยาหรือสามี ภรรยาหรอสามีเรา ซึ่งมี "อัตตา" เห็นผิดในตัวอยู่แล้วว่า "คนนี้เป็นสามีของเรา""คนนี้เป็นภรรยาของเรา" ก็จะเกิดความรู้สึกไม่พอใจ เกิด โมหะ และ โทสะ นำมาก่อน ก่อนที่จะกระทำกรรมอื่นทางกายเช่น ด่าทอ ทุบตี หรือขั้นสุดก็สังหารเอาชีวิต ซึ่งพื้นฐานล้วนมากจากความไม่ชอบใจ หรือ โมหะ และ โทสะ ทั้งสิ้น


เช่นนี้แล้วหากเราต้องการจะมีสามีหรือภรรยาหลายคน เราก็ต้องมีอย่างเปิดเผย และ แจ้งต่อภรรยาที่มีอยู่เดิมของเราก่อน ไม่ใช่ไปมี แล้วมาบอกทีหลัง แต่ต้องบอกตั้งแต่บ่วงยังไม่เกิด พูดง่าย ๆ คือ "ขออนุญาตเมียหลวง หรือ ผัวหลวงก่อน ว่าจะมีน้อย"


หากผัวหลวงหรือเมียหลวงยินยอมแล้วนั่นคือ บ่วงของเราจะ "เบาบาง" ไปจุดหนึ่ง (แค่เบาบางเท่านั้น)


และถ้าหากเราจะมีสามีภรรยา คนที่ 3 4 5 6...ไปเรื่อย ๆ จะกี่ร้อยกี่พันคน เราก็ควรจะต้องได้รับการอนุญาตและยินยอมจากภรรยาหรือสามีที่มีอยู่เดิมของเราทุกคนด้วยเช่นกัน ( เห็นความวุ่นวายไหมครับ)


แต่.....แค่นี้ยังไม่จบครับ แค่อนุญาตยังไม่พอ เพราะผมเขียนไว้ชัดเจนว่า "ต้องรักกันเองด้วย" กล่าวคือ


การอนุญาตให้เรามีนั้น นั่นแค่บ่วงเกิดกับเราเท่านั้น แต่ไม่ได้รวมถึง บ่วงที่ เหล่าสามี หรือ ภรรยาทั้งหลายที่จะไปสร้างบ่วงกันเองอีก เช่น การอิจฉากันเอง แก่งแย่งกัน การอยากแข่งกันว่าใครได้รับความสำคํญมากกว่าหรือน้อยกว่า หากบ่วงเหล่านี้เกิด ความวุ่นวายก็จะตามมา ผมถึงได้บอกว่า "ต้องรักกันเอง" ให้ได้ นั่นคือ ไม่อิจฉาซึ่งกันและกัน เมตตาต่อกัน ปรารถนาให้อีกฝ่ายมีความสุข ถนอมน้ำใจซึ่งกันและกัน


คิดว่าทำได้ไหมครับ?อย่าลืมว่า "คนเราเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้นะครับ"


และ ถ้าเราเคลียร์ด่านนี้ได้แล้ว จะมีอีกด่านที่เราต้องเคลียร์ครับ


2. ภรรยา หรือ สามีของเราจะต้องรักลูกหลานที่เกิดจากภรรยา หรือ สามีคนอื่น ๆ เหมือน ลูกหลานที่เกิดจากตัวเอง


ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์เพศเมีย เมื่อมันมีลูกแล้ว มันจะหวงลูก ดุขึ้น และพร้อมที่จะแย่งชิงทรัพยากรเพื่อความอยู่รอดของตัวเองและลูกตัวเอง คนเราก็เช่นกัน


ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปเสมอ บางครั้งการที่สามีหรือภรรยาเรารักกันเองได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีลูกแล้วทุกอย่างจะไม่เปลี่ยนไป


เริ่มเห็นความวุ่นวายไหมครับ ยิ่งถ้าเรามีสามีหรือภรรยา เยอะเท่าไร ก็ยิ่งเกิดบ่วงที่มาก และใหญ่ขึ้นมากเท่านั้น ตามที่ผมได้อธิบายไว้ใน "โทษของการมี สามี และ ภรรยา"


ทั้งนี้ทั้งนั้น หากใครคิดจะมีสามี หรือ ภรรยาหลายคน ก็อยากให้พึงระลึก และ ระวังถึงบ่วงที่เกิดขึ้น เพราะความวุ่นวาย และ เวรภัยนั้น จะตกที่ตัวเราเอง แต่ถ้าท่านไหนมั่นใจว่า ท่านมีความพร้อมในด้านทรัพยากร มีความสามารถบริหารจัดการได้ และ หลีกเลี่ยงบ่วงอกุศลให้มากที่สุดได้ การกระทำของท่านนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นบาป หรือ เลวร้าย หรือ สมควรถูกประนามแต่อย่างใดครับ ที่กล่าวไว้เช่นนี้ เพราะวันหนึ่ง อาจมีวันที่สังคมเราจำเป็นต้องทำลายสิ่งสมมติที่เรียกว่า "ลัทธิผัวเดียว เมียเดียว" ทิ้ง "เพื่อความอยู่รอดในการสืบต่อเผ่าพันธ์ที่มีคุณภาพ" ในอนาคตก็เป็นได้


ปุจฉา:แล้วหลักการเรื่องทิศ 6 ล่ะ การมีสามี หรือ ภรรยา หลายคนจะผิดไหม?


วิสัชนา:ทิศ 6 นั้น เป็น ธรรมะที่ออกจากพระโอษฐ์ คือ มาจากการเทศนาให้คนอื่นฟัง แล้วพระอานนท์รับรู้ว่า พระพุทธเจ้ามีเทศน์สั่งสอนแบบนี้ จึงมาบอกต่อ สิ่งที่เราควรพิจารณา คือ คำสั่งสอนนั้น สั่งสอนแก่ใคร สั่งสอนด้วยเหตุใด เพราะ จุดเด่นของพระพุทธเจ้า คือ จะสั่งสอนคนตามระดับปัญญาที่มี เพื่อให้สามารถบรรลุธรรมได้มากที่สุด


ทิศ 6 นั้น เป็นธรรมที่สั่งสอนแก่ สิงคาลกคฤหบดีบุตร ในขณะที่พระพุทธเจ้าออกบิณฑบาตรในกรุงราชคฤห์ โดยพระองค์ท่านทรงเห็น สิงคาลกคฤหบดีบุตรคำนับทิศทั้ง 6 อยู่ จึงทรงเข้าไปแสดงธรรมเพื่อให้สิงคาลกคฤหบดีบุตรเข้าใจทิศทั้ง 6 จริง ๆ ว่าที่ถูกแล้วเป็นอย่างไร เมื่อจบการแสดงธรรม สิงคาลกคฤหบดีบุตร เกิดจิตเลื่อมใส ปวารวณาตัวเองเป็นอุบาสก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ธรรมเรื่องทิศ 6 นี่ ค่อนข้างยาวและละเอียด เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะ สิงคาลกคฤหบดีบุตร จัดเป็นผู้มีปัญญาต่ำ จึงต้องแจกแจงให้ละเอียด แม้จบการแสดงธรรม ก็แจ้งในธรรมแค่เป็นอุบาสกเท่านั้น ถ้าจะพูดให้ง่ายคือ เปลี่ยนจาก "คน" มาเป็น "มนุษย์" เพียงเท่านั้น


เนื้อหาเรื่องทิศ 6 นั้น สามารถหาอ่านได้โดยทั่วไป ซึ่งผมแนะนำให้อ่าน และ ขอให้อ่านบาลีเทียบด้วย อย่าอ่านคำแปลอย่างเดียว โดยท่านสามารถหาอ่านได้จาก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๘. สิงคาลกสูตร (๑๓) โดยส่วนใหญ่ เรามักจะสอนกันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้แนวทางการปฏิบัติตัวต่อทิศทั้ง 6 แต่มักจะข้าม ใจความสำคัญที่ขึ้นต้นประโยคแรกคือ


"ผู้เป็นอริยะนั้น คือ ผู้ที่ปกปิดทิศทั้ง 6 ได้ หรือ ละทิศทั้ง 6 ได้"

อย่างไรก็ตามนั้น เมื่อพิจารณาเนื้อหาในหมวด สามีภรรยา รากของมันไม่ได้ต่างจาก ศีลข้อ 3 แต่อย่างไร เป็นเพียงการขยายความ เพื่อให้ผู้มีปัญญาต่ำสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้เท่านั้น เพราะถ้าหากมาอธิบายเรื่องจิตให้ฟัง สิงคาลกคฤหบดีบุตรคงจะมึนตึ๊บอยู่ตรงนั้น เพราะธรรมชาติของผู้ไม่เคยเจริญวิปัสสนาจะไม่สามารถแยก กาย จิต และใจ ออกจากกันได้


อย่างที่บอกครับว่า การมีสามีหรือภรรยาหลายคนนั้น เน้นที่การนอกใจ โดยที่อีกฝ่ายไม่รับรู้ก่อน ซึ่งสาเหตุที่ไม่ควรทำ เพราะจะสร้างบ่วงอกุศล หรือ ความไม่พอใจแก่ในใจแก่ผู้ที่เป็นภรรยา หรือสามีอยู่ก่อน ผมจึงแนะนำให้ใช้วิธีการขออนุญาตก่อน เพื่อลดบ่วงในใจ แต่ทั้งนี้ หญิงหรือชายที่จะมาเป็นภรรยาใหม่หรือสามีใหม่นั้นก็ต้องไม่มีบ่วงติดตัวเช่นกัน กล่าวคือ ไม่มี สามี ภรรยา หรือ ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน จึงจะสามารถตบแต่งมาเป็น ภรรยา หรือ สามีน้อยได้ ซึ่งผมได้เน้นย้ำไปแล้วว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำกิจ 2 ประการ ให้สำเร็จ เพื่อลดการสร้างบ่วงให้น้อยที่สุด ไม่เช่นนั้น ความทุกข์หรือบ่วงจะตกแก่เราเอง


แต่......สมมติเหตุการณ์ เช่นว่า คู่สามีภรรยา 2 คู่ขึ้นไป ตกลงแลกเปลี่ยนสลับสามีภรรยากัน เพื่อรสชาติความสนุกในการมีเพศสัมพันธ์ หรือที่ สมัยนี้เรียก Swapping หรือ ผู้หญิง 1 คน หลายผู้ชายที่เรียกว่า Swinging เช่น สามีอยากให้ภรรยามีสัมพันธ์กับผู้ชายหลายคนพร้อม ๆ กัน


การกระทำเช่นนี้หากเป็นความตกลงยินยอมพร้อมใจกันก็ไม่ถือว่า สร้างบ่วงในแง่ผิดศีลข้อ 3 แต่....ก็ไม่พ้นการสร้างบ่วงในการแง่ โมหะ คือ การหลงในกามราคะ และ โลภะ คือ ความยินดี ชอบใจในกามราคะ


ทีนี้มาในทางกลับกัน หากคู่สามี ภรรยานั้น เลือกที่จะมีกันและกันเท่านั้น กล่าวคือ ไม่คิดจะมี ภรรยาน้อย หรือ สามีน้อยนั้น สาเหตุนั้นเกิดจากปัจจัยอะไรหนุนนำล่ะ


ปุจฉา:แล้วแบบนี้ คู่แท้ หรือ soul mate มีจริงไหม? จะรู้ได้ยังไงว่าคนนี้เป็นคู่แท้ของเรา?


Comments


© 2021 by 19room Proudly created with Wix.com

bottom of page